ความสำคัญของสถาบันการเงินเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ

1

ปัจจุบันสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ได้มีการดำเนินธุรกิจแบบเครือข่าย หรือกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงทางธุรกิจเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการประกอบธุรกิจตามปกติ  การกำกับดูแลสถาบันการเงินแบบองค์กรเดี่ยว อาจไม่เพียงพอ ธปท. จึงได้ขยายขอบเขตการกำกับดูแลให้ครอบคลุมถึงกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยปัจจุบัน ธปท. ได้เริ่มใช้การกำกับดูแลแบบรวมกลุ่มกับธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศก่อนซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากลทั้งนี้ ธปท. ได้กำหนดให้โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องได้รับความเห็นชอบจาก ธปท. ก่อนและต้องดำรงเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงของทั้งกลุ่ม รวมทั้งปฏิบัติตามเกณฑ์เชิงคุณภาพ เช่น การจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายในของกลุ่มธุรกิจที่เพียงพอ รวมทั้งดูแลกลุ่มธุรกิจให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ของ ธปท. และนโยบายของบริษัทแม่ และส่งข้อมูลของกลุ่มฯให้ ธปท. ตรวจสอบ เป็นต้นนอกจากนี้ เพื่อไม่ให้ธุรกรรมมีการกระจุกตัว ธปท. จึงกำหนดให้กลุ่มฯ ดูแลการให้สินเชื่อและก่อภาระผูกพันกับบุคคลภายนอกหรือกลุ่ม ของบุคคลภายนอกและบริษัทภายในกลุ่มไม่เกินอัตราที่ ธปท. กำหนดและต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีธรรมาภิบาลที่ดี

ความเสี่ยงด้านเครดิต หมายถึงความเสี่ยงที่ลูกหนี้หรือคู่สัญญาของธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ การลงทุน และการก่อภาระผูกพัน เช่น ลูกหนี้ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับธนาคารพาณิชย์ได้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ในฐานะเจ้าหนี้เกิดความเสียหาย ทั้งนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อฐานะความมั่นคง ความเชื่อมั่นและชื่อเสียงของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งความเสี่ยงด้านเครดิตจะมีความรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินเชื่อและเงินลงทุน ดังนั้นธนาคารพาณิชย์จึงจำเป็นต้องมีนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมธปท. จึงมีการกำหนดแนวนโยบายเพื่อกำกับดูแลสินเชื่อตามความเสี่ยงที่แตกต่างกัน รวมถึงแนวนโยบายด้านคุณภาพสินเชื่อเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีการพิจารณาอนุมัติสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เพื่อให้มีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม ธปท. จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับลูกหนี้รายใหญ่ การให้สินเชื่อและลงทุนในกิจการที่ธนาคารพาณิชย์มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) และการกำกับการลงทุน นอกจากนี้ ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีสาขากระจายอยู่ในหลายประเทศและมีการทำธุรกรรมกับคู่สัญญาในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ธปท. จึงได้กำหนดให้ คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์จัดทำนโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาและให้ธนาคารพาณิชย์ประเมิน ควบคุม และติดตามความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งนอกเหนือจากแนวทางข้างต้นแล้ว ธปท. ยังได้มีการกำกับดูแลธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินและมิใช่สถาบันการเงิน เพื่อให้การกำกับมีมาตรฐานเดียวกันและเป็นการดูแลหนี้ภาคครัวเรือนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

This entry was posted in ธุรกิจ and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.